Assignment2

1.จงอธิบายการทำงานของ Internet

ตอบ  การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย

โดเมนเนม (Domain name system : DNS)

เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลขIP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข

โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ

.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ

.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา

.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ

.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร

.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร

http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2006-2/Assignment-02/BPA_29_08_2/page_4.htm

2.เมื่อนักศึกษาต้องการใช้ internet กับอุปกรณ์สื่อสารหรือคอมพิวเตอร์มีวิธีการอย่างไร

ตอบ มี 2 วิธี ได้แก่

1. เทคโนโลยีสื่อสารบรอดแบนด์

1.1 ผ่านสายนำสัญญาณ
ก) บีไอเอสดีเอ็น หรือไอเอสดีเอ็นแถบกว้าง (Broadband ISDN: B-ISDN) เป็นเทคโนโลยีโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมแบบดิจิทัล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ยุคเริ่มแรก

ข) ระบบเครือข่ายเส้นใยนำแสง (Fiber optical network) การสื่อสารข้อมูลผ่านช่องสัญญาณชนิดเส้นใยนำแสงเป็นเทคโนโลยีการแปลงสัญญาณข้อมูลดิจิทัลให้เปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของสัญญาณแสงเพื่อส่งข้อมูลผ่านสื่อนำสัญญาณชนิดเส้นใยนำแสง การสื่อสารด้วยแสงมีประสิทธิภาพ ในการถ่ายโอนข้อมูลที่มีปริมาณมาก ด้วยอัตราการส่งข้อมูลที่สูงมากในระดับหลายกิกะบิตต่อวินาที ซึ่งมากกว่าสายนำสัญญาณชนิดสายตีเกลียวคู่และสายเคเบิลชนิดโคแอกเชียล (Coaxial)

ค) สายผู้เช่าดิจิทัล หรือดีเอสแอล(Digital Subscriber Line: DSL)เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ที่ใช้สื่อนำสัญญาณชนิดสายตีเกลียวคู่ซึ่งถูกใช้สำหรับให้บริการโทรศัพท์มาให้บริการข้อมูลโดยการส่งข้อมูลจะใช้แถบความถี่ที่อยู่เหนือขึ้นไปจากแถบความถี่เสียงพูดของบริการโทรศัพท์ โดยมีความถี่ตั้งแต่ ๒๕ กิโลเฮิรตซ์ขึ้นไป [๓] ระบบดีเอสแอลสามารถสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูงในระดับเมกกะบิตต่อวินาทีซึ่งมากกว่าการสื่อสารข้อมูลด้วยอุปกรณ์โมเด็มปกติที่ทำงานในแถบความถี่เสียงและส่งข้อมูลได้ไม่เกิน ๕๖ กิโลบิตต่อวินาที ทำให้ระบบดีเอสแอลเป็นที่นิยมเนื่องจากการติดตั้งระบบดีเอสแอลที่เครื่องลูกข่ายมีความสะดวก เพราะไม่จำเป็นต้องทำการติดตั้งสายนำสัญญาณใหม่

ง) ระบบบรอดแบนด์บนสายนำสัญญาณไฟฟ้า (Broadband over power line: BPL) สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายนำสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือนและอาคารทั่วไป ด้วยคุณสมบัติเด่นของอุปกรณ์เรื่องราคาและสะดวกต่อการใช้งาน โดยใช้โมเด็มของระบบบีพีแอลกับปลั๊กไฟมาตรฐานทั่วไปตามอาคารก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านเครือข่ายได้ เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้บริษัทที่ให้บริการไฟฟ้าสามารถให้บริการเครือข่ายสำหรับใช้ในการส่งข้อมูลได้ ปัญหาที่อาจพบได้จากการใช้งานเครือข่ายบีพีแอลก็คือสัญญาณของบีพีแอลอาจไปรบกวนการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นที่ใช้สายส่งพลังงานไฟฟ้าเดียวกัน

1.2  บรอดแบนด์แบบไร้สาย

ก) เทคโนโลยีไวแมกซ์ (Worldwide Interoperability for Microwave Access: WiMAX) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สายชนิดหนึ่งที่พัฒนาโดยสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หรือ ไอทริปเปิลอี (IEEE: Institute of Electrical and Electronic Engineers) โดยเรียกว่ามาตรฐาน IEEE 802.16 ซึ่งกำหนดให้ใช้แถบความถี่วิทยุกว้างในระดับเมกกะเฮิรตซ์ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงในระดับหลายเมกกะบิตต่อวินาที ในทางทฤษฎีไวแมกซ์มีศักยภาพในการให้บริการข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงถึงระดับ ๗๕ เมกกะบิตต่อวินาที  อย่างไรก็ตามอัตราการส่งข้อมูลที่แท้จริงอาจมีค่าต่ำกว่าค่าดังกล่าวเมื่อมีการใช้งานจากผู้ใช้หลายรายพร้อมกัน ไวแมกซ์มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมรัศมีในช่วง ๑๐ กิโลเมตรขึ้นไป นอกจากนั้นทางไอทริปเปิลอีได้กำหนดมาตรฐานหลายชุดเพื่อรองรับการใช้งานของเครื่องลูกข่ายที่ไม่เคลื่อนที่ (Fixed subscriber) และเครื่องลูกข่ายเคลื่อนที่ได้ (Mobile subscriber) ทำให้เทคโนโลยีไวแมกซ์มีศักยภาพที่จะสามารถให้บริการสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่เช่นเดียวกัน

ข)เครือข่ายเซลลูลาร์บรอดแบนด์ (Broadband cellular network) เกิดจากการพัฒนาของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งเดิมถูกใช้งานเฉพาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลเสียงพูด เช่นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สากลตามมาตรฐานจีเอสเอ็ม (Global system for Mobile communications: GSM) หรือมาตรฐาน ซีดีเอ็มเอ (Code Division Multiple Access: CDMA) ซึ่งได้มีการพัฒนา

จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์จนทำให้สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูล ด้วยอัตราความเร็วสูงขึ้น รองรับการส่งข้อมูลชนิดสื่อประสม(Multimedia) มีความสามารถในการรองรับข้อมูลอัตราความเร็วสูง ถึง ๒ เมกกะบิตต่อวินาทีสำหรับเครื่องลูกข่ายที่มีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำในระดับคนเดินเท้า และที่ความเร็ว ๓๔๘ กิโลบิตต่อวินาทีสำหรับเครื่องลูกข่ายที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เช่นอยู่บนรถไฟหรือรถยนต์ส่วนบุคคล

2. Dial-Up
 คือ การเชื่อมต่อ Internetโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem)ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์ เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต เหมาะอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานที่มีงบประมาณจำกัด เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาคอยดูแลรักษาระบบ

http://thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Broadband_Communications/index.php

http://www.mindphp.com/

3.Home Network หมายถึงอะไร และมีวิธีการทำอย่างไร

โฮมเน็ตเวิร์ก  เป็นการทำให้อุปกรณ์ภายในบ้าน สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  อีกทั้งยังสามารถควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านได้ โดยมีเครือข่ายการสื่อสารขนาดเล็ก (PAN : Personal Area Network) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15 ที่ใช้เทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth) ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอ นิกส์และเครื่องใช้ภายในบ้านโดยใช้ความถี่ 2.4 GHz จากแนวคิดในการติดตั้งไมโครชิปบลูทูธในอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านทุกชนิด เพื่อสร้างเครือข่ายการสั่งการและควบคุมอุปกรณ์แบบไร้สาย จากโทรศัพท์มือถือ  เป็นการย่อบ้านทั้งหลังสู่ปลายนิ้วของคุณ ถึงแม้บริษัท LG Electronics ได้พัฒนาระบบ LG InternetFamily แต่เทคโนโลยีตัวนี้ก็คงต้องใช้เวลารอการออกสู่ตลาดอีกสักระยะหนึ่ง แต่วันนี้เราก็ได้ใช้บริการเทคโนโลยีตัวนี้ในบางส่วนแล้ว เช่นโทรศัพท์ที่ใช้ Bluetooth Headset
http://www.nongbua.ru.ac.th/

4. 3G และ ADSL มีความแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ  ADSL คือ
ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscribers Line คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแบบใหม่ ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่อ Internet และเครือข่ายระยะไกลได้ด้วยความเร็วสูงโดยใช้คู่สายโทรศัพท์ธรรมดา ถือเป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดงธรรมดา ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่าผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย)
เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และความเร็วในการส่งข้อมูล (Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีความเร็วในการรับข้อมูล สูงกว่าความเร็วในการส่งข้อมูลเสมอ เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วในการรับข้อมูลสูงสุด 8 เม็กกะบิตต่อวินาที (Mbps) และความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 640 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps.) ความเร็วอาจเริ่มตั้งแต่ 128/64, 256/128, 512/256 เป็นต้น โดยความเร็วแรกเป็นความเร็วขารับข้อมูล

คุณสมบัติของเทคโนโลยี
ADSL มีดังนี้
1.ความเร็วสูง เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วสูงกว่าโมเด็มแบบ 56K ธรรมดากว่า 5 เท่า (256 Kbps.) หรือสูงสุดกว่า 140 เท่าที่ความเร็ว 8 Mbps.
2.การเชื่อมต่อแบบ Always On สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา เหมาะสำหรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
3.ค่าใช้จ่ายคงที่ ในอัตราที่ประหยัด ค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาจ่ายรายเดือนแบบไม่จำกัดเวลา ในราคาเริ่มต้นที่ประหยัด ไม่ต้องเสียค่าเชื่อมต่อโทรศัพท์ต่อครั้ง

3G คือ

3G คือ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่สาม (Third Generation of Mobile Telephone – 3G) ซึ่งมี สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (International Telecommunication Union) ซึ่งเป็นองค์กรชำนาญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำตลอดจนวางหลักเกณฑ์ในบริหาร และการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้กับประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิกทั่วโลก โดยมีแนวทางในการวางหลักเกณฑ์ทางการบริหารทรัพยากรด้านโทรคมนาคมของแต่ละประเทศสมาชิก เพื่อให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน

คุณสมบัติหลักของ 3G คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์
(always on) นั่นคือไม่จําเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครอขื ่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย

http://lovelovelover77.wordpress.com

5 .IPv6, Cloud Computing Software Development, และ WebRTC  มีลักษณะอย่างไรมีผลกระทบกับธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างไร

ตอบ   IPv6 คือ

IPv6 คือ กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet อินเทอร์เน็ตส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่ หมายเลขอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใคร

หมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลใน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต และหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครื่อข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก(Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี

IPv6 ต่อ ธุรกิจ

IPv6  จะช่วยกำหนดทิศทางให้ธุรกิจต่อไปในอนาคต และยังสามารถเข้าไปช่วยองค์กรธุรกิจได้ตั้งแต่แรกเริ่ม ไปจนถึงการทำงานขั้นสูง โดยแบ่งบริการออกเป็น 6 ระดับเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ ช่วยวางแผน การออกแบบ สำรวจความพร้อม นำไปใช้ และการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ถ้าองค์กรไม่เตรียมความพร้อมตั้งแต่ตอนนี้ ก็จะไม่ทัน เพราะเมื่อ IPv4 หมด องค์กรที่เตรียมพร้อมสำหรับ IPv6 จะได้ประโยชน์ในการก้าวไปสู่ธุรกิจที่ดีขึ้น ขณะเดียวกัน ยังถือเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับอุปกรณ์เชื่อมต่อจำนวนมหาศาลที่จะเข้ามาในระบบ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก ส่วนบุคคลเข้ามาใช้งานภายในองค์กร’

http://www.ipv6.nectec.or.th/faq.php

Cloud Computing คืออะไร

คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลัง

 Cloud Computing ต่อการดำเนินธุรกิจ

Cloud Computing เป็นระบบการบริหารจัดการทรัพยากรไอทีแบบใหม่ ที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อรองรับกับธุรกิจยุคใหม่ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงในทุกวินาที  ระบบการจัดการทรัพยากรทางด้านไอทีแบบ Cloud Computing ส่งผลให้ธุรกิจสามารถเพิ่ม ลด และปรับเปลี่ยนระบบไอทีได้ทันทีที่ต้องการตามนโยบายการดำเนินธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องรอการสั่งซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม เพราะโครงสร้างของระบบถูกออกแบบให้ทำงานอยู่บนระบบเสมือน ( Virtualization) ทำให้สามารถเพิ่ม ลด และปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบไอทีที่รองรับการทำงานของ Software และ Application  ที่จำเป็นต่อธุรกิจได้ทันที

ในมุมมองของการทำธุรกิจ การเพิ่มเติมหน่วยงานหรือขยายธุรกิจออกไป จำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ระบบไอทีถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการลงทุนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ถือเป็นการลงทุนที่ยังไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ชัดเจน ทำให้องค์กรต้องแบกรับภาระต้นทุนค่อนข้างสูง  แต่เมื่อองค์กรเปลี่ยนมาใช้การบริหารจัดการทรัพยากรไอทีแบบ Cloud Computing การเพิ่มการใช้งานระบบไอทีจะมีต้นทุนที่ต่ำ ลงเพราะโครงสร้าง Infrastructure ทั้งหมดจะถูกสร้างเป็นระบบเสมือนและสามารถใช้งานได้ทันที ทำให้การตัดสินใจในการต่อยอดทางธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น หรือในกรณีที่องค์กรไม่ต้องการลงทุนทางด้านระบบไอที ก็สามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการของ Cloud  Service Provider ได้ Cloud Computing จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดต้นทุนทางด้านไอทีได้ในระยะยาว

 Cloud Computing ในชีวิตประจำวัน

การใช้ Cloud computing ในการเรียนการสอน เห็นภาพได้ชัดจากเหตุการณ์หลายๆ เหตุการณ์ เช่น

  1. อีเมลที่สถาบันการศึกษาของครู อาจารย์ไม่มีความเสถียร แนบไฟล์ได้ไม่มาก พื้นที่เก็บเมลมีน้อย ทำให้ต้องเสียเวลาลบเมล ส่งผลให้การติดตามการบ้าน หรือการเรียนของนักเรียนในชั้นเป็นไปโดยลำบาก แต่ด้วยบริการของ Gmail, Hotmail หรือ Yahoo Mail ช่วยให้การรับส่ง การสั่งงานด้วยอีเมลระหว่างครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษาเป็นไปได้โดยสะดวก
  2. การสร้างสรรค์บทเรียน สื่อการเรียนการสอน ครู อาจารย์ขาดซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ใช้ประกอบการทำบทเรียน ส่งผลให้เกิดปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ด้วยบริการแปลงฟอร์แมต Video ของ Youtube บริการสร้างสไลด์ออนไลน์ของ Google Docs บริการตัดต่อภาพ/ปรับแต่งภาพจาก Pixlr.com ทำให้ปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ลดลงแน่นอน
  3. ช่องทางการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นไปได้ง่ายขึ้นโดยการประยุกต์ใช้ Facebook, Wiki หรือ Google Group

http://www.bkk1.in.th/Topic.aspx?TopicID=983

http://www.netbright.co.th/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=18

http://www.thailibrary.in.th/2012/04/25/cloud-edu/

 WebRTC คือ

WebRTC ชื่อเต็มคือ  Web Real-Time Communication เป็น javascript api ใหม่ที่สามารถทำให้คุยแบบเห็นหน้า ได้ยินเสียง และแชร์ไฟล์หากันแบบ P2P ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเสริมใดๆ โดย Google ได้นำเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์มาเป็น OpenSource Project ของโครงการ WebRTC ไปแล้ว ซึ่งโครงการ WebRTC คือการสร้าง API มาตรฐานสำหรับการดึงไมโครโฟนและเว็บแคมของคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้เว็บสามารถดึงภาพและเสียงจากเครื่องแล้วส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้ตามเวลาจริง ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างห้องแชตวิดีโอโดยไม่ต้องการปลั๊กอินใดๆ เพิ่มเติม ต่างไปจากทุกวันนี้ที่ Google Talk, และ Hangout ของกูเกิล ยังคงต้องการปลั๊กอิน Google Talk แยกออกมาเพื่อทำงาน

 WebRTC กับธุรกิจ

เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจเพื่อมนุษย์ซอฟแวร์เว็บเพื่อปลูกฝังความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างที่ไม่เคยมาก่อนสามารถโต้ตอบได้ทันที ทำให้การติดต่อสื่อสารกันสะดวกและประหยัด

http://inetbangkok.in.th/?p=918

ใส่ความเห็น